สินค้า Upcycle เทรนด์มาแรง สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าสินค้า รักษ์สิ่งแวดล้อม
สินค้า Upcycle เทรนด์มาแรง สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Upcycle & Recycle กันก่อน
Upcycle หมายถึง กระบวนการในการแปลงสภาพของวัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกแล้วเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม หรือกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม คำนี้ปรากฎครั้งแรกในหนังสือ Cradle to Cradle : Remaking the Way we Make Things เขียนโดย William McDonough
ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนเสื้อยีนส์เก่าๆ ของคุณ ตัดแขน เย็บคอเสื้อ สอยชายผ้า แล้วเปลี่ยนให้เป็นถุงผ้าเท่ห์หรือไอเดียสุดเท่ห์อื่นๆ ถือเป็นการ Upcycling เป็นการให้ชีวิตใหม่กับเสื้อยีนส์ของคุณ และใช้งานในวัตถุประสงค์ใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดขยะช้าลง ต่างจาก Recycle เสื้อยีนส์นั้นจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ฟอกย้อมใหม่เปลี่ยนเป็นผ้ายีนส์สำหรับใช้ทำเสื้อยีนส์อีกครั้ง
เสื้อยืนส์เก่าๆ ที่ผ่านการ Upcycle
Recycle คือการปฏิบัติเพื่อนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เป็นการส่งคืนวัสดุกลับสู่กระบวนการผลิตผ่านวงจรของการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของสังคม แทนที่จะทิ้งวัสดุเหล่านั้นลงถัง
การ Recycle กระดาษนั้น ในกระบวนการรีไซเคิลจะเกิดการสูญเสียคุณภาพกระดาษ เกิดของเสียระหว่างผลิตซึ่งมีค่าใช้จ่ายและอาจมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระดาษที่ผลิตได้ใหม่นั้นคุณสมบัติจะต่ำกว่าเดิม เฉกเช่นเดียวกับขยะพลาสติกเมื่อนำเข้ากระบวนการรีไซเคิลก็จะได้พลาสติกที่คุณภาพต่ำลง เกิดของเสีย มีค่าใช้จ่ายและอาจมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
ตารางเปรียบเทียบ ข้อแตกต่างระหว่าง Recycle กับ Upcycle
หัวข้อ | Recycle | Upcycle |
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ | NO | YES |
รูปแบบการผลิต | กระบวนการผลิตเชิงเครื่องจักร เชิงอุตสาหกรรม | เน้นไอเดียการออกแบบ (design) |
เกิดค่าใช้จ่ายในกระบวนการ
(ต้นทุนการผลิต) ,และของเสีย |
YES | No |
ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม | สูงกว่า | ต่ำกว่า |
อื่นๆ | คุณภาพของสินค้า recycle มักจะต่ำลงกว่าเดิม | เปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน หรือยืดอายุการใช้งานของสิ่งเดิม |
สินค้า Upcycle เทรนด์มาแรง สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม
กระบวนการ Upcycle ใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือสำคัญ จึงทำให้มีแบรนด์สินค้าต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ในต่างประเทศมีการนำวัสดุที่ไม่มีค่ามาสร้างสินค้าด้วยการใช้ดีไซน์เข้าไปช่วย เช่น การนำเสื้อกันฝน เสื้อแจ็คเกต หรือผ้าหุ้มเบาะที่นั่งในรถไฟความเร็วสูงแบบใช้แล้วทิ้ง ไปผลิตเป็นกระเป๋าและสินค้าใหม่ แล้วนำกลับมาใช้ในบริษัทอีกครั้ง หรือนำออกจำหน่าย และนำรายได้ไปบริจาคเพื่อการกุศล ส่งเสริมวิธีการคิดเพื่อการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง
ส่วนในบ้านเรา ก็มีผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดการออกแบบผ่านกระบวนการ Upcycle อยู่ไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น การนำถุงปูนทีไม่ใช้แล้วมาผลิตเป็นกระเป๋า ซึ่งเมื่อก่อนนี้ลักษณะนี้จะเข้าใจว่าเป็นการรีไซเคิล แต่ที่จริงแล้วมันเป็นการ Upcycling อีกตัวอย่างคือ ไอเดียสุดเจ๋งกับการสร้างผลงานศิลปะบนโต๊ะด้วยฝาจีบเบียร์และน้ำอัดลม ก็เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการ Upcycle เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ การ Upcycling จะช่วยชุบชีวิต ยืดอายุของสิ่งของเหลือใช้ ไม่ให้กลายเป็นขยะ เพื่อให้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไปนั้น เปรียบเสมือนช่วยต่อลมหายใจให้สิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิต ส่วนการ Recycle ก็เป็นการนำวัสดุที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปแล้ว กลับมาสู่วงจรการผลิต เพื่อแปรสภาพและนำกลับมาสร้างผลิตภัณฑ์อีกครั้ง ช่วยลดการใช้วัสดุใหม่จากธรรมชาติในกระบวนการผลิตได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะหากยังมีวัสดุให้ Upcycle และ Recycle นั่นก็หมายความว่า ยังมีผลิตภัณฑ์ที่รอการเป็นขยะอยู่ในวงจรการบริโภคของเรา
สิ่งที่ดีที่สุดคือ ลดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม โดยหันกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เมื่อกลายเป็นขยะแล้ว สามารถส่งคืนกลับสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.greennetworkthailand.com/
ภาพประกอบจาก
#บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ (Bio Base) 100% #ย่อยสลายสู่ธรรมชาติได้สมบูรณ์ (Biodegradable) 100% ปลอดภัยกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม www.sewecoware.com หรือ www.facebook.com/SEWTHAILAND/ #ท่านสามารถสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย #ซีล-บรรจุภัณฑ์สร้างในไร่ #วิถีแห่งความยั่งยืน#เบอร์โทร 02-216-5820-2